ประวัติความเป็นมา
กองบิน 7 เป็นกองบินที่มีประวัติยาวนาน ซึ่งเดิมเป็นหน่วยในความรับผิดชอบของกองบินทหารเรือ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2494 เกิดเหตุการณ์ผันผวนทางการเมือง กระทรวงกลาโหมได้มีคำสั่งให้โอนกองบินทหารเรือดังกล่าวให้กับกองทัพอากาศ ณ อ่าวจุกเสม็ด อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรีหลังจากที่กองทัพอากาศได้รับมอบกองบินทหารเรือแล้ว ก็ได้จัดตั้งเป็น "กองบินน้อยที่ 7" เมื่อ วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ.2494 โดยมีสายการบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อกองบินภาค 1 กองบินรบทหารอากาศ มีภารกิจขับไล่ยุทธวิธี สนับสนุนการปฏิบัติการของกองทัพเรือ ทั้งทางภาคพื้นดินและน่านน้ำฝั่งตะวันออก เพื่อป้องกันราชอาณาจักรด้านเขตแดนและฝั่งทะเล ต่อมากองทัพอากาศได้ ปรับโครงสร้างกองทัพอากาศใหม่ โดยได้ยุบเลิกกองบินภาคและตั้งกองบินยุทธการขึ้นแทน “กองบินน้อยที่ 7” จึงได้กลายเป็นหน่วยขึ้นตรงต่อกองบินยุทธการ
พ.ศ.2506 กองทัพอากาศได้แก้ไขอัตรา โดยให้เปลี่ยนชื่อจากกองบินน้อยที่ 7 เป็น "กองบิน 7" แต่ยังคงภารกิจของกองบินไว้เช่นเดิม
พ.ศ.2510 กองบิน 7 ได้เปลี่ยนภารกิจจากขับไล่ยุทธวิธี เป็นกองบินสนับสนุนทางอากาศยุทธวิธีตามยุทธศาสตร์ชาติในขณะนั้น
กองทัพอากาศได้มีนโยบายปรับวางกำลังของกองทัพอากาศเพื่อความเหมาะสมทางด้าน ยุทธศาสตร์ในการป้องกันประเทศในแถบภาคใต้ตอนบน และได้กำหนดให้สนามบินม่วงเรียง ซึ่งเป็นสนามบินเก่าที่ทหารญี่ปุ่นสร้างขึ้นไว้ใช้งาน ตั้งแต่ พ.ศ.2486 ช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่บนทางหลวงแผ่นดินสายที่ 41 หรือสายเอเชีย ห่างจากกรุงเทพมหานครลงมาทางใต้ประมาณ 624 กิโลเมตร ณ ตำบลหัวเตยและบางส่วนของตำบลมะลวน อำเภอพุนพิน จังหวัด สุราษฎร์ธานี เป็นที่ตั้งกองบิน 71 โดยได้ปรับย้ายกองบิน 7 จากอ่าวจุกเสม็ด อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี มายัง ณ ที่ตั้งแห่งใหม่นี้ เมื่อ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2525 หรือเป็นที่รู้จักในนามสนามบินหัวเตย โดยให้โอนเครื่องบินโจมตีแบบที่ 5 (OV-10) จำนวน 11 เครื่องจากฝูงบิน 531 กองบิน 53 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มาประจำการในฝูงบิน 711 กองบิน 71 ดังนั้นจึงถือเอาวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนากองบิน 7 จวบจนปัจจุบัน
ห้วงเวลา 30 ปี นับจากที่ได้สถาปนากองบิน 71 นั้น มีช่วงการเปลี่ยนผ่านที่สำคัญ 2 ช่วงเวลาด้วยกันกล่าวคือ ช่วงที่ 1 เมื่อปี พ.ศ.2533 จากนโยบายรัฐบาลที่ต้องการให้มีกองกำลังทางอากาศอันทรงพลานุภาพ ไว้คุ้มครองผลประโยชน์ของชาติทางทะเลที่มีทรัพยากรซึ่งมีมูลค่ามหาศาล ตลอดจนการให้ความคุ้มครองและสร้างความมั่นใจให้กับการขนส่งทางเรือ ตลอดจนการรักษาอธิปไตรทางภาคใต้ของประเทศไทย กองทัพอากาศจึงได้ปรับโครงสร้างใหม่ โดยกำหนดให้กองบิน 71 เป็นหน่วยขึ้นตรงต่อ กองพลบินที่ 4 และได้ปรับวางกำลังเครื่องบินขับไล่แบบที่ 18 ข/ค (F-5E/F) จาก ฝูงบิน 102 กองบิน 1 จ.นครราชสีมา มาประจำการ ณ ฝูงบิน 711 และเมื่อเดือน พฤษภาคม พ.ศ.2534 ได้ปรับย้ายเครื่องบินโจมตีแบบที่ 5 (OV-10) ไปประจำการที่ ฝูงบิน 411 กองบิน 41 จ.เชียงใหม่ และได้ปรับวางกำลังเครื่องบินขับไล่แบบที่ 18/ก หรือ F-5 A/B จากฝูงบิน 231 กองบิน 23 กองพลบินที่ 2 จ.อุดรธานี มาประจำการเพิ่มเติม ณ ฝูงบิน 711 เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2541
วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ.2542 กองทัพอากาศมีคำสั่ง (เฉพาะ) ที่ 48/42 แก้ไขอัตรากองทัพอากาศ โดยยกสถานภาพกองบินจากกองบิน 71 เป็น กองบิน 7 พร้อมทั้งเพิ่มอัตราบรรจุฝูงบินเป็น 3 ฝูงบิน และได้กำหนดให้กองบิน 7 เป็นฐานบินปฏิบัติการหลักของกองทัพอากาศ โดยมีเครื่องบินบรรจุประจำการ ณ ขณะนั้นได้แก่เครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์แบบที่ 18 (F-5A), เครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์แบบที่ 18 ก (F-5B), เครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์แบบที่ 18 ข (F-5E), และเครื่องบินลาดตะเวนถ่ายภาพแบบที่ 18 (RF-5A) ซึ่งทั้ง F-5A และ RF-5A ได้ปลดประจำการในเวลาต่อมา
กองทัพอากาศได้มีโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์จำนวน 1 ฝูงบิน (12 เครื่อง)ทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบที่ 18 ก/ข หรือ F-5B/E พร้อมระบบอาวุธ เครื่องมือ อุปกรณ์ การฝึกอบรม เอกสารเทคนิค การซ่อมบำรุง และอะไหล่ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ.2553 ให้กองทัพอากาศจัดซื้อเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์แบบ Gripen 39 C/D ระยะแรกจำนวน 6 เครื่อง พร้อมอุปกรณ์ อะไหล่ การฝึกอบรม การปรับปรุงอาคาร สถานที่ และการบริหารโครงการ รวมทั้งรับข้อเสนอพิเศษและความร่วมมือทวิภาคีจากราชอาณาจักรสวีเดน ช่วงการเปลี่ยนผ่านที่สำคัญของกองบิน 7 ครั้งที่ 2 คือนับตั้งแต่ พ.ศ.2551 เป็นต้นมา กองบิน 7 ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งในเรื่องระบบสิ่งอำนวยความสะดวก ระบบการรักษาความปลอดภัย ตลอดจนอาคารสถานที่ต่าง ๆ เพื่อเตรียมการรองรับโครงการจัดซื้อเครื่องบิน GRIPEN 39 C/D และเครื่องบิน SAAB 340 AEW/B
เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ.2553 เครื่องบิน SAAB 340 AEW และ SAAB 340 B เดินทางถึงกองบิน 7 สุราษฎร์ธานี และเครื่องบิน Gripen 39 C/D จำนวน 6 เครื่อง ก็ได้เดินทางถึงกองบิน 7 เมื่อคืนวันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554 ซึ่งต่อมากองทัพอากาศได้จัดให้มีพิธีบรรจุเข้าประจำการอากาศยานทั้งสองแบบ เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ.2554 จึงทำให้ปัจจุบันกองบิน 7 มีโครงสร้างกำลังรบ 2 ฝูงบิน ได้แก่ ฝูงบิน 701 มีเครื่องบินบรรจุ 2 แบบ ได้แก่ Gripen 39C/D (บข.20/ก) และ F-5B/E ส่วนฝูงบิน 702 มีอากาศยานบรรจุ คือ SAAB 340 AEW/B (บค.1 และ บล.17)
กองบิน 7 เป็นกองบินที่มีประวัติยาวนาน ซึ่งเดิมเป็นหน่วยในความรับผิดชอบของกองบินทหารเรือ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2494 เกิดเหตุการณ์ผันผวนทางการเมือง กระทรวงกลาโหมได้มีคำสั่งให้โอนกองบินทหารเรือดังกล่าวให้กับกองทัพอากาศ ณ อ่าวจุกเสม็ด อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรีหลังจากที่กองทัพอากาศได้รับมอบกองบินทหารเรือแล้ว ก็ได้จัดตั้งเป็น "กองบินน้อยที่ 7" เมื่อ วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ.2494 โดยมีสายการบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อกองบินภาค 1 กองบินรบทหารอากาศ มีภารกิจขับไล่ยุทธวิธี สนับสนุนการปฏิบัติการของกองทัพเรือ ทั้งทางภาคพื้นดินและน่านน้ำฝั่งตะวันออก เพื่อป้องกันราชอาณาจักรด้านเขตแดนและฝั่งทะเล ต่อมากองทัพอากาศได้ ปรับโครงสร้างกองทัพอากาศใหม่ โดยได้ยุบเลิกกองบินภาคและตั้งกองบินยุทธการขึ้นแทน “กองบินน้อยที่ 7” จึงได้กลายเป็นหน่วยขึ้นตรงต่อกองบินยุทธการ จนกระทั่งปี พ.ศ.2506 กองทัพอากาศได้แก้ไขอัตรา โดยให้เปลี่ยนชื่อจากกองบินน้อยที่ 7 เป็น "กองบิน 7" แต่ยังคงภารกิจของกองบินไว้เช่นเดิม จนกระทั่งปี พ.ศ.2510 กองบิน 7 ได้เปลี่ยนภารกิจจากขับไล่ยุทธวิธี เป็นกองบินสนับสนุนทางอากาศยุทธวิธีตามยุทธศาสตร์ชาติในขณะนั้น
กอง ทัพอากาศได้มีนโยบายปรับวางกำลังของกองทัพอากาศเพื่อความเหมาะสมทางด้าน ยุทธศาสตร์ในการป้องกันประเทศในแถบภาคใต้ตอนบน และได้กำหนดให้สนามบินม่วงเรียง ซึ่งเป็นสนามบินเก่าที่ทหารญี่ปุ่นสร้างขึ้นไว้ใช้งาน ตั้งแต่ พ.ศ.2486 ช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่บนทางหลวงแผ่นดินสายที่ 41 หรือสายเอเชีย ห่างจากกรุงเทพมหานครลงมาทางใต้ประมาณ 624 กิโลเมตร ณ ตำบลหัวเตยและบางส่วนของตำบลมะลวน อำเภอพุนพิน จังหวัด สุราษฎร์ธานี เป็นที่ตั้งกองบิน 71 โดยได้ปรับย้ายกองบิน 7 จากอ่าวจุกเสม็ด อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี มายัง ณ ที่ตั้งแห่งใหม่นี้ เมื่อ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2525 หรือเป็นที่รู้จักในนามสนามบินหัวเตย โดยให้โอนเครื่องบินโจมตีแบบที่ 5 (OV-10) จำนวน 11 เครื่องจากฝูงบิน 531 กองบิน 53 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มาประจำการในฝูงบิน 711 กองบิน 71 ดังนั้นจึงถือเอาวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนากองบิน 7 จวบจนปัจจุบัน
ห้วงเวลา 30 ปี นับจากที่ได้สถาปนากองบิน 71 นั้น มีช่วงการเปลี่ยนผ่านที่สำคัญ 2 ช่วงเวลาด้วยกันกล่าวคือ ช่วงที่ 1 เมื่อปี พ.ศ.2533 จากนโยบายรัฐบาลที่ต้องการให้มีกองกำลังทางอากาศอันทรงพลานุภาพ ไว้คุ้มครองผลประโยชน์ของชาติทางทะเลที่มีทรัพยากรซึ่งมีมูลค่ามหาศาล ตลอดจนการให้ความคุ้มครองและสร้างความมั่นใจให้กับการขนส่งทางเรือ ตลอดจนการรักษาอธิปไตรทางภาคใต้ของประเทศไทย กองทัพอากาศจึงได้ปรับโครงสร้างใหม่ โดยกำหนดให้กองบิน 71 เป็นหน่วยขึ้นตรงต่อ กองพลบินที่ 4 และได้ปรับวางกำลังเครื่องบินขับไล่แบบที่ 18 ข/ค (F-5E/F) จาก ฝูงบิน 102 กองบิน 1 จ.นครราชสีมา มาประจำการ ณ ฝูงบิน 711 และเมื่อเดือน พฤษภาคม พ.ศ.2534 ได้ปรับย้ายเครื่องบินโจมตีแบบที่ 5 (OV-10) ไปประจำการที่ ฝูงบิน 411 กองบิน 41 จ.เชียงใหม่ และได้ปรับวางกำลังเครื่องบินขับไล่แบบที่ 18/ก หรือ F-5 A/B จากฝูงบิน 231 กองบิน 23 กองพลบินที่ 2 จ.อุดรธานี มาประจำการเพิ่มเติม ณ ฝูงบิน 711 เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2541
และ ในวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ.2542 กองทัพอากาศมีคำสั่ง (เฉพาะ) ที่ 48/42 แก้ไขอัตรากองทัพอากาศ โดยยกสถานภาพกองบินจากกองบิน 71 เป็น กองบิน 7 พร้อมทั้งเพิ่มอัตราบรรจุฝูงบินเป็น 3 ฝูงบิน และได้กำหนดให้กองบิน 7 เป็นฐานบินปฏิบัติการหลักของกองทัพอากาศ โดยมีเครื่องบินบรรจุประจำการ ณ ขณะนั้นได้แก่เครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์แบบที่ 18 (F-5A), เครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์แบบที่ 18 ก (F-5B), เครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์แบบที่ 18 ข (F-5E), และเครื่องบินลาดตะเวนถ่ายภาพแบบที่ 18 (RF-5A) ซึ่งทั้ง F-5A และ RF-5A ได้ปลดประจำการในเวลาต่อมา
ในปี พ.ศ.2546 กองทัพอากาศได้มีโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์จำนวน 1 ฝูงบิน (12 เครื่อง)ทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบที่ 18 ก/ข หรือ F-5B/E พร้อมระบบอาวุธ เครื่องมือ อุปกรณ์ การฝึกอบรม เอกสารเทคนิค การซ่อมบำรุง และอะไหล่ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ.2553 ให้กองทัพอากาศจัดซื้อเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์แบบ Gripen 39 C/D ระยะแรกจำนวน 6 เครื่อง พร้อมอุปกรณ์ อะไหล่ การฝึกอบรม การปรับปรุงอาคาร สถานที่ และการบริหารโครงการ รวมทั้งรับข้อเสนอพิเศษและความร่วมมือทวิภาคีจากราชอาณาจักรสวีเดน ช่วงการเปลี่ยนผ่านที่สำคัญของกองบิน 7 ครั้งที่ 2 คือนับตั้งแต่ พ.ศ.2551 เป็นต้นมา กองบิน 7 ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งในเรื่องระบบสิ่งอำนวยความสะดวก ระบบการรักษาความปลอดภัย ตลอดจนอาคารสถานที่ต่าง ๆ เพื่อเตรียมการรองรับโครงการจัดซื้อเครื่องบิน GRIPEN 39 C/D และเครื่องบิน SAAB 340 AEW/B เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ.2553 เครื่องบิน SAAB 340 AEW และ SAAB 340 B เดินทางถึงกองบิน 7 สุราษฎร์ธานี และเครื่องบิน Gripen 39 C/D จำนวน 6 เครื่อง ก็ได้เดินทางถึงกองบิน 7 เมื่อคืนวันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554 ซึ่งต่อมากองทัพอากาศได้จัดให้มีพิธีบรรจุเข้าประจำการอากาศยานทั้งสองแบบ เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ.2554 จึงทำให้ปัจจุบันกองบิน 7 มีโครงสร้างกำลังรบ 2 ฝูงบิน ได้แก่ ฝูงบิน 701 มีเครื่องบินบรรจุ 2 แบบ ได้แก่ Gripen 39C/D (บข.20/ก) และ F-5B/E ส่วนฝูงบิน 702 มีอากาศยานบรรจุ คือ SAAB 340 AEW/B (บค.1 และ บล.17)
กองบิน 7 มุ่งสู่การพัฒนาไปสู่การเป็นกองบินต้นแบบที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลางหรือ ที่เรียกว่า Network Centric Air Base หรือ NCAB ตามที่กองทัพอากาศกำหนด เพื่อรองรับวิสัยทัศน์การเป็นกองทัพอากาศชั้นนำในภูมิภาคอาเซียน หรือ One of the Best Air Forces in Asian กองบิน 7 มีความพร้อมที่จะพัฒนากำลังพลและอุปกรณ์ให้มีขีดความสามารถพร้อมที่จะรองรับ ระบบป้องกันภัยทางอากาศใหม่ Gripen Integrated Air Defense System
การมุ่งไปสู่การเป็นกองบินต้นแบบที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลางนั้น เป็นความท้าทายอันจะต้องมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งระบบ ที่ต้องใช้งบประมาณ ใช้เวลา และที่สำคัญต้องใช้ทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพเพื่อการสอดคล้องอย่างลงตัว และการที่จะเตรียมบุคลากรที่เหมาะสมสำหรับกองทัพอากาศดิจิตอล ต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตการทำงานของกำลังพลทั้งองคาพยพ ให้สามารถดำรงขีดความสามารถคู่กับเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยสามารถใช้ประโยชน์จากระบบและเครื่องมือดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพและ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อความมั่นคงของชาติ
เพื่อให้การไปสู่การเป็น Network Centric Air Base อย่างเป็นรูปธรรม นอกเหนือจากงานต้องดำเนินการตามภารกิจ และนโยบายที่กองทัพอากาศกำหนดแล้ว กองบิน 7 ได้วางแผนดำเนินการในปี พ.ศ.2555 เบื้องต้นโดยแบ่งเป็น ด้านต่างๆ ดังนี้ คือ
ด้านยุทธการและการฝึก ได้จัดทำระบบ เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างฝ่ายยุทธการ ฝูงบิน 701 กับ Flight Line ฝูงบิน 701 ทั้งนี้เพื่อให้ข้อมูลการจัดบินมีความทันสมัยตลอดเวลา รวมทั้งศึกษาระบบเชื่อมโยงข้อมูลเป้าหมายอากาศยานบนจอเรดาร์ จาก ASR ไปยังอาคาร ศปรภ.กองบิน 7 เพื่อให้การป้องกันภัยทางอากาศด้วยอาวุธต่อสู้อากาศยานมีประสิทธิภาพยิ่ง ขึ้น
ด้านการรักษาความปลอดภัย กองบิน 7 ได้จัดคณะกรรมการด้านการรักษาความปลอดภัยของกองบิน 7 เพื่อตรวจสำรวจ ปรับปรุงแก้ไข อุปกรณ์ด้านการรักษาความปลอดภัยทั้งหมดของกองบิน 7 ให้สามารถบูรณาการ การใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเต็มขีดความสามารถ
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการประชาสัมพันธ์ กองบิน 7 ได้จัดให้มีการปรับปรุง Website ของหน่วยงานและกิจการต่างๆ ของกองบิน ให้มีความทันสมัย รวดเร็ว เพื่อให้การประชาสัมพันธ์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ด้านการพัฒนาบุคลากร กอง บิน 7 ให้ความสำคัญในเรื่ององค์ความรู้ และการบริหารจัดการความรู้ เกี่ยวกับระบบ Network Centric รวมทั้งภาษาอังกฤษ และคอมพิวเตอร์ เพื่อเป็นพื้นฐานสำคัญให้แก่บุคลากร โดยมุ่งเน้นให้กำลังพลทุกคน มีความรู้ ความเข้าใจ ในขอบเขตของงาน ในความรับผิดชอบและสามารถเชื่อมโยงงานไปสู่ความเป็น Network Centric Air Base ได้อย่างมีความรู้ ความเข้าใจ สร้างความภาคภูมิใจและพร้อมที่จะก้าวไปพร้อม ๆ กันทุกคน